•.•●•۰• ••.••.•●•۰• ••.••.•●•۰• ••.••.•●•۰• ••.••.•●•۰• ••.••.•●•۰•
คอมพิวเตอร์ (Computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า
ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very
Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor)
ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง
ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใน
ปัจจุบัน
โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน
ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer)
หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ
นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์
เครื่องคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงขึ้น
โดยเฉพาะการทำงานได้เร็วขึ้น มีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี คอมพิวเตอร์จะราคาเท่าเดิม
แต่จะทำงานได้ดีกว่าเดิม 50
เท่าในด้านความเร็วและหน่วยความจำ ตามกฎของมัวร์
(Moore’s
Law) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท อินเทล (Intel) กล่าวคือ
ชิปจะมีความสามารถในการประมวลผลเพิ่มเป็นเท่าตัวในทุก
18
เดือน
แต่ปัจจุบันการใช้วัสดุซิลิคอนผลิตชิปถึงจุดตีบตันเริ่มไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้
เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถแก้ปัญหาได้เอง (self-solving problem) เมื่อมีข้อผิดพลาด โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ โดยเป็นฮาร์ดแวร์ที่มีซอฟต์แวร์ฝังตัว (embedded system) เพื่อการทำงานเฉพาะ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ
การใช้นาโนเทคโนโลยี (nanotechnology) นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะมีบทบาทในการผลิต วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีสมรรถนะสูงขึ้น เพราะใช้การเรียงตัวเองของอนุภาคขนาดเล็ก คือ อะตอมหรือโมเลกุล ในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ และถูกต้อง ทำให้สามารถพัฒนาโครงสร้างวัสดุหรือสสารอันมีคุณสมบัติ
พิเศษ
รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กมากแต่มีสมมถนะสูง
แนวโน้มของเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
ในอนาคตซอฟต์แวร์จะยิ่งเอื้อให้ใช้งานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มาก ขณะเดียวกันมีลักษณะ การใช้งานเชิงกราฟิก
และการปฏิสัมพันธ์ที่โต้ตอบกันได้ทันทีมากขึ้น มีเครื่องมือช่วยผู้ใช้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น คู่มือ คำถามที่ใช้บ่อยและอื่นๆ
ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์เหล่านี้ยัง
พยายามพัฒนาบนมาตรฐาน เช่น
ซอฟต์แวร์ในองค์การปัจจุบันออกแบบให้ทำงานกับคอมพิวเตอร์หลากหลาย ลักษณะ เช่น
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พีดีเอ เป็นต้น
และยังมีมาตรฐานในการนำเสนอและจัดการเนื้อหาได้มา ขึ้นไม่ว่าจะเป็นเอชทีเอ็มแอลและเอ็กซ์เอ็มแอล
ขณะเดียวกันยังเป็นซอฟต์แวร์แบบบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยง ระบบสารสนเทศต่าง ๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันและสนับสนุนการทำงานของทั้งองค์การ
ขณะเดียวกันยังเป็นซอฟต์แวร์แบบบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยง ระบบสารสนเทศต่าง ๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันและสนับสนุนการทำงานของทั้งองค์การ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันและอนาคต
ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ
ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายและถ้าเราจะพูดถึงเทคโนโลยีที่เรียกกันทั่วไปว่าคอมพิวเตอร์ก็คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่รู้จัก
เนื่องจากการทำงานทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่คอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผลหรืองานต่าง ๆ
ตามคำสั่งที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น
คอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทหลัก คือ
1. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
มีการทำงานโดยการนำค่าที่เป็นเลขโดด เช่น เลขฐานสอง มาใช้ในการคำนวณ
2. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดย การนำค่าตัวแปรที่ต่อเนื่อง เช่น ค่าแรงดันไฟฟ้าในวงจรมาใช้ในการคำนวณ
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer)
ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ลูกผสมระหว่างคอมพิวเตอร์สองแบบแรก แต่ในปัจจุบันนี้ เมื่อกล่าวถึงคอมพิวเตอร์เฉยๆ จะหมายถึง ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กัน
สาเหตุที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในปัจจุบัน คือ
• คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว• คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ไว้ในฐานข้อมูลและเรียกเพื่อนำมาใช้งานได้ทันที ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
• คอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภทจัดกลุ่มทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้โดยระบบประมวลผล ที่มีความถูกต้อง
• คอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
และตลอดเวลา
• คอมพิวเตอร์สามารถจัดทำเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยระบบประมวลคำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสำนักงานอัตโนมัติ สร้างความสะดวกและประหยัดเวลาในการจัดทำเอกสารแต่ละชนิด
Neural Networks
โครงข่ายใยประสาทเทียม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์คำนวณโดยใช้วิธีเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้น ทำงานต่างจากสมองของมนุษย์ โดยขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่สร้างมาเพื่อแก้ปัญหา โดยต้องนิยามลำดับขั้นตอนของการแก้ปัญหา (algorithm) ไว้ก่อน ซึ่งการทำงานตามโปรแกรมแบบนี้จะใช้หน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งต้องมีการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีส่วนของหน่วยความจำเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในตำแหน่งเฉพาะ แต่โครงข่ายใยประสาทเทียมนั้นกระจายการประมวลผลออกไปสู่โครงข่ายใยประสาท และประมวลผลแบบขนานคือทำไปพร้อม ๆ กันครั้งเดียว และเก็บสารสนเทศต่าง ๆ ไว้ในไซแนปนาโนอิเล็กทรอนิกส์
คือสาขาหนึ่งของวิชาอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขอบเขตความรู้ในระดับนาโน ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องจากการสร้างวงจรโดยใช้แนวทางอิเล็กทรอนิกส์เดิมกำลังถึงทางตัน ด้วยเหตุผลที่ว่า แนวทางเดิมไม่สามารถจะสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่เล็กในระดับนาโนได้
ที่มา https://sites.google.com/site/tecandnetwork09/naew-nom-thekhnoloyi-sarsnthes-ni-xnakht
http://pookaajoo.blogspot.com/2010/09/blog-post_29.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น