การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม

❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.❀●•♪.


NB94NB130
NB82หลักการเลือกคอมพิวเตอร์

การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้ต้องรู้ระดับการใช้งานของตนเอง เพื่อสามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ต่อไป การแบ่งระดับการใช้งาน คอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Office เพื่อจัดทำเอกสารรายงานเพื่อนำเสนอ หรืออาจจะใช้โปรแกรม Photoshop แต่งภาพเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น ส่วนผู้ใช้มือใหม่เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อจะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เ ครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักจะยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหา ได้บ่อยครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะที่เหมาะและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Cleron D , Pentium 4 , Pentium D หรือ AMD Sempron , AMD Athlon 64 x 2
แรมประเภท DDR2-SDRAM ขนาด 512 MB ขึ้นไป
เมนบอร์ดเลือกประเภทที่มีชิปแสดงผล ชิปเสียง และชิปเน็ตเวิร์กมาด้วย เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดแล้ว และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
ฮารด์ดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA ขนาดความจุ 160 GB เป็นต้นไป ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเสียงใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดรฟ์ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 500 โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป สำหรับตัวเครื่อง จอภาพและอุปกรณ์อื่นๆ ที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน 300 วัตต์

ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟฟิก (Graphic User) งานด้านกราฟฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อ โฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆ ตัว เช่น โปรแกรม Photoshop , IIIustrator , CorelDraw , InDesign เป็นต้น ซึ่งราคาเครื่องคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ผู้ใช้ระดับนี้จึงควรจะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะจะทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟฟิก และทำให้ใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะที่เหมาะและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Core 2 Duo หรือ AMD Athlon 64x2
แรมชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 1 GB ขึ้นไป
เมนบอร์ดมีสล็อต PCI Express x16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อาจเลือกแบบ On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮารด์ดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 250 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล- ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCI Express x16 ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 256 MB ขึ้นไป โดยเลือกชิปแสดงผลเป็น nVidia GeForce FX 6800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon x1300 ขึ้นไป
การ์ดเสียงใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดรฟ์ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผลขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 19 นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 500 โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป สำหรับตัวเครื่อง จอภาพและอุปกรณ์อื่นๆ ที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน 300 วัตต์
ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟฟิกขั้นสูง (Advanced Graphic User)ซึ่งต้องแสดงผลในรูปแบบสามมิติ หรือ 3 DAnimationผู้ใช้ระดับนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม Auto CAD ,3D Studio Max และ Maya เป็นต้น จึงควรเลือกประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้เองเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ได้


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะที่เหมาะและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Core 2 Duo , Intel Core 2 Quad, i7 หรือ AMD Athlon 64x2
แรมชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 2 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 1 GB จำนวน 2 แถว
เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-Channel
เมนบอร์ดรองรับเทคโนโลยี Dual-Channel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และ
เทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCI Express x16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อาจเลือกแบบ
On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮารด์ดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCI Express ที่มีขนาดหน่วยความจำ
บนการ์ด 512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก nVidia GeForce FX 8600หรือ 9600 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon HD340 ขึ้นไป
การ์ดเสียงใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดรฟ์ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผลขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 22 นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 500 โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป
ระดับผู้เล่นเกม (Game User)ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมซึ่งดูเหมือนจะเป็น เรื่องฟุ่มเฟือย ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ แต่ในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากเกินไป ดังนั้นการประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เองจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่สำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ ในวัยเรียนและยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง ไม่ควรเล่นเกมมากจนกลายเป็นคนติดเกมเพราะนอกจากจะทำให้เสียการเรียน แล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะที่เหมาะและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Core 2 Duo, Intel Core 2 Quad หรือ AMD Athlon 64 x 2
แรมชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 4 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 2 GB จำนวน 2 แถว
เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-Channel
เมนบอร์ดรองรับเทคโนโลยี Dual-Channel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และเทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCI Express x16 จำนวน 1-2 ช่อง เพื่อรองรับการทำ SLI หรือ CrossFire
ฮารด์ดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCI Express ที่มีขนาดหน่วยความจำบนการ์ด
512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก nVidia GeForce FX 8800 ขึ้นไป
หรือ ATI Radeon HD 3800 ขึ้นไป อาจพิจารณาการทำ SLI หรือ CrossFire ด้วย
การ์ดเสียงใช้การ์ดเสียงคุณภาพดีแบบ Multi-Channel
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดรฟ์ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผลขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 22 นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 600 โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป



•.•●•۰• ••.••.•●•۰• ••.••.•●•۰• ••.••.•●•۰• ••.••.•●•۰• ••.••.•●•۰• 



ที่มา https://sites.google.com/site/computersec33/prapheth-khxng-khxmphiwtexr


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น