เทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและรองรับต่อการใช้งานของเราให้สะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านของมัลติมีเดีย, เกม, ระบบความปลอดภัยต่างๆ ไปจนผู้ช่วยอัจฉริยะ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ราวกับว่าสมาร์ทโฟนในอนาคตจะเปรียบเสมือนกับคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆ ไปแล้ว
เทคโนโลยีใหม่เพื่อสมาร์ทโฟนแห่งอนาคต
เทคโนโลยี Augmented Reality (AR)
การนำเอาสภาพแวดล้อมของโลกจริง มาผสมเข้ากับวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างในรูปแบบอนิเมชั่น ไม่ว่าจะเป็นภาพ, วิดีโอ, เสียง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจำลองสิ่งต่างๆ ได้นั่นเอง โดยในปัจจุบันเราก็เริ่มเห็นกันค่อนข้างเยอะแล้วบนสมาร์ทโฟน เช่น เกม Pokemon Go ที่พวกเราต้องเคยเดินหาโปเกม่อนตัวโปรดกันมาก่อนอย่างแน่นอน เป็นต้น ซึ่งในตอนนี้เทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาใช้บนสมาร์ทโฟนระดับ High-End จากหลายแบรนด์กันแล้วด้วยแบตเตอรี่ที่ทำงานได้ยาวนานขึ้น
เทคโนโลยีที่อยู่ในสมาร์ทโฟนมากเท่าไหร่ก็ต้องยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าในเรื่องของหน่วยประมวลผล (CPU) จะมีการพัฒนาให้ใช้พลังงานลดน้อยลงแล้วก็ตามเทคโนโลยีดังกล่าว คือการใช้แบตเตอรี่พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen cell) ที่มีหลักการทำงาน โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากการทำปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำและความร้อนออกมา
หน้าจอ 3 มิติ หรือภาพฮอโลกราฟี (Holograms)
สมาร์ทโฟนหลายๆ แบรนด์เริ่มขยับเข้าสู่เทคโนโลยี 3 มิติกันมากขึ้น ดังเช่น บริษัท Sony ที่มีแอพพลิเคชั่น 3D Creator เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแบบ 3 มิติที่ง่ายและรวดเร็ว แต่ในส่วนถัดไปที่ค่อนข้างจะยากที่สุดก็คงจะเป็นในส่วนของภาพฮอโลกราฟี (Holograms) ที่ต้องฉายภาพออกมาในแบบ 3 มิติผ่านหน้าจอโดยตรง (อาจต้องทำงานร่วมกับเทคโนโลยี 3 มิติบนสมาร์ทโฟนด้วย) ดังนั้น ฮอโลกราฟีก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนแบบ 3 มิติและโปรเจคเตอร์ในหนึ่งเดียวการถอดประกอบชิ้นส่วน หรือใช้งานอุปกรณ์เสริมแบบ Modular
โครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาสมาร์ทโฟนแบบถอดประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า Google Project Ara จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2017 จึงทำให้เราไม่มีโอกาสได้เห็นตัวเครื่องในปีที่ผ่านมา แต่ก็มีสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นที่ใช้งานเทคโนโลยีการถอดประกอบ หรือการใช้งานอุปกรณ์เสริมแบบ Modular ต่างๆ เช่นกันเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือแบบฝังใต้วัสดุอื่นๆ
หลังจากที่มีการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยบนสมาร์ทโฟนด้วยการใช้งานรหัสผ่านที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลอย่าง ลายนิ้วมือ (Fingerprint) ให้เป็นมาตรฐานหลักมาเป็นเวลาหลายปี แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของการติดตั้งเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือก็คือการที่ต้องติดอยู่บนปุ่มกดแบบ Hard-Key หรือเป็นช่องเฉพาะที่จำเป็นต้องให้เซ็นเซอร์สัมผัสกับนิ้วมือโดยตรง ทำให้สมาร์ทโฟนบางรุ่นไม่สามารถขยายพื้นที่หน้าจอได้หากยังมีปุ่มโฮม
Weather Cell Phone Concept : แนวคิดเพื่อบอกสภาพดินฟ้าอากาศ
แนวคิดมือถือ โทรศัพท์มือถือบอกสภาพดินฟ้าอากาศ (Weather Cell Phone Concept) มีแนวคิดและจุดเด่นตรงตัวเครื่องทำจากวัสดุ
โปร่งใส ขนาดบางเฉียบ หน้าจอสามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่ตัวเครื่อง
ใช้ระบบสัมผัสในการควบคุมการทำงาน สามารถตรวจวัดสภาพอากาศในปัจจุบันแล้วแสดงผลบนตัวเครื่องได้
อย่างเช่น อากาศปลอดโปร่ง หน้าจอจะใสแจ๋ว หากฝนตกตัวเครื่องก็จะมีหยดน้ำฝนเกาะอยู่
และถ้ามีหิมะตกหน้าจอก็จะเป็นฝ้าด้วยไอความเย็นของหิมะ
และหากต้องการโทรออกหรือเขียนข้อความ เพียงแค่ใช้ปากเป่าลมไปยังหน้าจอ
ก็สามารถเขียนตัวอักษรหรือวาดรูปต่างๆ ลงไปได้เลย
Ear Cell Phone Concept: แนวคิดโทรศัพท์มือ ถือหูฟังล่องหน
แนวคิดโทรศัพท์มือถือหูฟังล่องหนหรือที่เรียก ว่า "Ilshat Garipov" ออกแบบให้มีขนาดบาง เฉียบ
มีลักษณะคล้ายคลิปหนีบ ดึงส่วนยื่นออกมาเกี่ยวกับช่องหู คล้ายหูฟัง
วัสดุประกอบตัวเครื่องแต่ละชั้นใช้โพลิเมอร์สอดแทรกด้วยชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์
และเซ็นเซอร์จำนวนมากสามารถตรวจจับผิวหน้าสัมผัสกับตัวเครื่องเปลี่ยนสีพื้น
ผิวโทรศัพท์ให้เหมือนกับบริเวณที่ส่วมใสอยู่ ดูผ่านๆ
แล้วเหมือนกับโทรศัพท์ล่องหนได้
Projector Cell Phone Concept: แนวคิดมือถือติดโปรเจคเตอร์
แนวคิดมือถือโทรศัพท์มือถือที่ต้องการเป็นมากกว่ามือถือธรรมดา
เป็นแนวคิดสมาร์ทโฟนขนาดบางเฉียบ ติดโปรเจคเตอร์หรือเครื่องฉายภาพ (Projector
Concept) ไว้
ตรงกลางของตัวเครื่องรอยต่อระหว่างจอแสดงผลที่สามารถหมุนขึ้นได้กับแผงปุ่ม กด
ผู้ใช้สามารถส่งภาพในโทรศัพท์ออกไปยังฉากหรือผนังเพื่อรับชมภาพในขนาดใหญ่ ได้
เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือในอนาคตหรือ Concept Phone ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตล้ำสมัย ฟังก์ชั่นการทำงานหลากหลาย ไม่ยึดติดกับรูปร่างลักษณะแบบเดิมๆ ของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ตอบสนองผู้ใช้งานและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีใน อนาคต
ที่มา http://www.unigang.com/Article/2438
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น